ผู้จัดทำ

Posted: กุมภาพันธ์ 23, 2012 in Uncategorized


 

นางสาวณัฐชกมล  ศรีสุข

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3    เลขที่ 10

โรงเรียนหนองกี่พิทยาคม

  อุทยานแห่งชาติหวงหลงอยู่ในอำเภอซงพันในเขตปกครองตนเองของชนเผ่าทิเบตอาป้าและเผ่าเชียง ทางตอนเหนือของมณฑลซื่อชวน (เสฉวน)ของจีนติดต่อกับเขตอุทยานแห่งชาติจิ่วไจ้โกว ครอบคลุมพื้นที่กว่า 1,340 ตารางกิโลเมตร บนความสูงกว่าระดับน้ำทะเล 3,000 – 5,588 เมตร ประกอบด้วยหุบเขาหวงหลง ช่องแคบหว่างเขาตันหยุน สันเขาหิมะ ยอดเขาหิมะเส่ป่า ผางามหงซินหยง หุบเขาตะวันตกซีโกว หยดถ้ำมังกรติสุ่ย รวม 7 ส่วนด้วยกัน มีเนื้อที่ทั้งหมด 700 ตารางกิโลเมตร

อุทยานแห่งชาติหวงหลง มรดกโลกทางธรรมชาติ ปีค.ศ. 1992เมื่อถึงสมัยราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368 – 1644) ได้มีการก่อสร้างวัดหวงหลงขึ้น เพื่อเซ่นไหว้มังกรเหลือง แต่นั้นมา ความงดงามเป็นเอก ของธารน้ำหวงหลงจึงได้อวดสู่สายตาของชาวโลก

‘มังกร’ ถือเป็นภูมิทัศน์เอกของอุทยานแห่งนี้ จากยอดเขาเสวี่ยเป๋าติ่ง ด้วยความสูง 5,588 เมตร ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในเขตอุทยานแห่งนี้ ธารน้ำแข็งไหลผ่านแนวสันเขาหินปะการังสีทองลงมา กลายเป็นน้ำตกน้อยใหญ่ เมื่อถึงไหล่เขา ณ ความสูงราว 3,100 –3,600 เมตรได้กลับมารวมกันที่โตรกธารหวงหลงอีกครั้ง เกิดเป็นสระมรกตหลากสีสันกว่า 3,000 สระ บ้างก็มีขนาดใหญ่โตนับพันตารางเมตร บ้างก็มีขนาดเพียงไม่กี่ตารางเมตร  บ้างลึกบ้างตื้นทับซ้อนกัน เป็นระยะทางกว่า 3.6 กิโลเมตร เมื่อแหงนมองขึ้นไปก็จะเห็น‘มังกรเหลือง’ที่ลดเลี้ยว ขึ้นสู่หมู่เมฆบนยอดเขาหิมะ และเมื่อก้มมองเบื้องล่างก็จะพบกับ ‘สระสวรรค์ในแดนดิน’ทอดตัวอย่างสงบท่ามกลางขุนเขาและแมกไม้

จุดชมวิวที่สำคัญอยู่ที่หุบผามังกรเหลือง ซึ่งอยู่หลังวัด จะมีสระขนาดใหญ่เป็นขั้นบันได สลับกับน้ำสีเหลืองจากตะกอนแคลเซียมและเกสรดอกไม้ อยู่บนฉากหลังที่เป็นป่าสน เขาหิมะ น้ำตก ซึ่งเกิดจากธรรมชาติสรรสร้างอย่างวิจิตรพิสดาร เมื่อมองจากด้านบนจะดูเหมือนมังกรสีเหลืองขนาดมหึมา จนได้ชื่อว่า “หวงหลง” (มังกรเหลือง) หวงหลงถูกจัดเป็นมรดกโลกในปี 1992 และต่อมาปี 2000 ก็ขึ้นทำเนียบเป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าของโลก และเขตท่องเที่ยว และได้ขึ้นอันดับเป็นจักรวาลสีเขียวแห่งศตวรรษที่ 21 ในปี 2002

โครงสร้างทางภูมิศาสตร์ของหวงหลงมีความซับซ้อนเป็นพิเศษ โดยตั้งอยู่บนขอบวงบรรจบของพื้นที่ทางธรณี วิทยาที่แตกต่างกันถึง 3 ลักษณะ ได้แก่ เขตที่ราบสูงของลุ่มน้ำแยงซี เขตทุ่งหญ้าซงพัน และเขตเทือกเขาฉินหลิ่ง (เส้นแบ่งเหนือใต้ทางธรรมชาติของจีน) นอกจากนี้ ยังเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างเขตที่ราบสูงชิงจั้งในทิเบตและที่ราบต่ำในเสฉวน ก่อให้เกิดภูมิทัศน์แบบขั้นบันได ทับซ้อนกันเป็นชั้นๆ ลักษณะทางธรณีวิทยาดังกล่าว ส่งผลให้หวงหลงกลายเป็น  ช่วงแนวเขาสุดท้ายและเป็นแหล่งชุมนุมของบรรดาเทือกเขาสูงจากภาคตะวันตก   ก่อน
จะเข้าสู่เขตที่ราบลุ่มภาคกลางของจีน ก่อเกิดเป็นทัศนียภาพที่น่าตื่นใจของ หุบเหวลึกนับพันเมตร ยอดเขาสูงชันที่ปกคลุมด้วยหิมะตลอดปี โตรกธารน้ำแข็งนับร้อยพันสายที่เลาะเลี้ยวไปตามหุบเขาทุกหนแห่ง อันเป็นแหล่งต้นน้ำสำคัญ 3 สายของจีน ได้แก่ ลำน้ำฝูเจียง หมินเจียง และเจียหลิง (ก่อนบรรจบกันเป็นแม่น้ำแยงซีเกียง) นอกจากนี้ ความแตกต่างที่มาบรรจบกันยังส่งผลให้สภาพภูมิอากาศและพืชพันธุ์สัตว์ป่าที่อาศัยในถิ่นนี้ มีการผสมผสานกันระหว่างเขตเหนือใต้ อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่แปลกตาหายากอีกด้วย ระหว่างเส้นทาง ธรรมชาตินี้ ยังมีแนวหินปะการังที่เกิดจากการสะสมของแคลเซี่ยมหรือหินคาร์สท์ (Kast) ที่มีขนาดใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดในโลก ปกคลุมอยู่ตลอดแนวสันเขา ผ่านเส้นทางของน้ำตกสายต่างๆ บ้างกลายเป็นสระน้อยใหญ่ ที่รองรับน้ำใสเย็น แล้วส่งผ่านลงมาเป็นชั้นๆ อันเป็นสัญลักษณ์เลื่องชื่อของอุทยานแห่งนี้

ที่มาของหวงหลง กล่าวกันว่า สถานที่แห่งนี้ จักรพรรดิอวี่ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์เซี่ย ซึ่งเป็นหนึ่งในสามของจักรพรรดิผู้ยิ่งยงในประวัติศาสตร์ยุคโบราณของจีนได้เคยมาบรรเทาอุทกภัยที่นี่ โดยมีพาหนะคือมังกรเหลือง หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจ มังกรเหลืองได้ละทิ้งวังมังกรของตนมาพำนักอยู่ยังโลกมนุษย์ และได้สร้าง        ‘สระหยก’อันงดงามนี้ขึ้น

อย่างไรก็ตาม จากลักษณะทางกายภาพของอุทยานแห่งชาติหวงหลงที่ประกอบด้วยแนวหินสีเหลืองที่ เกิดจากการจับตัวของแคลเซี่ยมแผ่คลุมอยู่โดยทั่วไปบริเวณสันเขา บ้างแปลงกายเป็นสระน้ำหลากสีสันที่ลดหลั่นเรียงตัวกันลงมาเป็นชั้นๆ เมื่อมองจากที่ห่างไกล จึงเห็นราวกับเป็นมังกรทองเหลื่อมสลับลายที่ลดเลี้ยวอยู่ท่ามกลางแมกไม้สี เขียว และเหินหาวสู่ยอดเขาที่ปกคลุมด้วยหิมะตลอดปี

ที่มา :http://www.abroad-tour.com/china/sichuan/huanglong.html

 

เมืองซันย่า

Posted: กุมภาพันธ์ 23, 2012 in เมืองซันย่า

   ซันย่าเป็นเมืองที่อยู่ใต้สุดของจีนและเป็นเมืองริมทะเลแห่งเดียวที่ตั้งอยู่ในเขตโซนร้อนของจีน และเป็นเมืองท่าสำคัญในการท่องเที่ยว เกาะไหหลำ เหมือนพัทยา หัวหินของไทย นอกจากนี้ยังเคยเป็นสถานที่จัดประกวด Miss World มาแล้ว รวมทั้งทางการจีนได้ก่อสร้างสถานที่จัดประชุมผู้นำเศรษฐกิจ CEO Forum อย่างถาวรไว้ที่นี่ ซึ่งจะมีการประชุมทุกปีอีกด้วย เมืองซันย่า มีหาดทรายขาวสะอาดงดงาม อาทิ หาดต้าตงไห่ หาดยี่หัวหยวน หาดย่าหลง และยังเพียบพร้อมไปด้วยอากาศอันบริสุทธิ์ อาหารทะเลเลิศรส เมืองซันย่ามีแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น ไปฟังเสียงระฆังวัดที่ หนันซัน ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ใต้สุดของจีน ไปชมวิวที่สวยงามสุดขอบฟ้า ไปดำน้ำในทะเลจีนใต้ เลือกซื้อศิลปหัตถกรรมของชาวชนชาติหลีซึ่งเป็นชาวท้องถิ่นดั้งเดิมของไหหลำ ยามพลบค่ำ บาร์เบียร์ริมทะเลเริ่มคึกคักดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งหลายให้ออกมานั่งเล่น

         ชาวซันย่าส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามเพราะว่าเมื่อประมาณ 700 ปีก่อน มีพ่อค้าชาวอาหรับทำเรืออับปางบริเวณนี้ จึงต้องสร้างหลักปักฐานอยู่ที่นี่ จนกลายเป็นบรรพบุรุษของชาวเมืองซันย่า

 ที่มา : http://www.abroad-tour.com/china/hainan/sunya.html

    เมืองโบราณต้าหลี่ สร้างขึ้นมากว่า 1000 ปีก่อน ถึงแม้ได้ผ่านกาลเวลามาช้านาน แต่เมืองโบราณแห่งนี้ก็ยังคงอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์อย่างมาก นักท่องเที่ยวที่ไปเที่ยวจะเห็นประตูเมืองทั้งด้านใต้และด้านเหนือซึ่งเป็น สถาปัตยกรรมที่คล้ายคลึงกันตามสองฟากของถนนสายเก่าแก่จะมีบ้านเรือนโบราณ ปลูกสร้างไว้อย่างกระจัดกระจาย มีถนนสายเก่าแก่ตัดผ่านตัวเมืองโบราณแห่งนี้
ซึ่งในปัจจุบัน  ได้กลายเป็นถนนย่านการค้าที่มีตวามเจริญเป็นอย่างมาก ตามสองข้างถนนเต็มไปด้วยร้านค้าต่างๆ ซึ่งจะทั้งพ่อค้าชนชาติไป๋ที่แต่งกายประจำชาติ มาขายสินค้าพื้นเมืองต่างๆ เช่น หินอ่อนต้าหลี่ ผ้าพื้นเมืองและเครื่องเงิน  เป็นต้น  ภายในเมืองโบราณแห่งนี้ยังมีถนนเล็กๆสายหนึ่งจากทาง  ทิศตะวันออกไปสู่ทางทิศตะวันตก สองฟากของถนนสายนี้ มักจะเต็มไปด้วย ภัตตาคาร อาหารจีน และอาหารตะวันตก นอกจากนี้ยังมีร้านกาแฟและร้านน้ำชาที่มีเจ้าของเป็นชาวต่างชาติ อาศัยอยู่ ถนนสายนี้จึงขึ้นชื่อว่า “ถนนสายต่างชาติ” ถนนสายนี้มีกลิ่นอายของความเก่าแก่และ มีความความทันสมัยผสมผสานกัน จึงทำให้สามารถดึงดูดชาวต่างประเทศจำนวนมากให้หลั่งใหลกันไปท่องเที่ยวตามถนนสายนี้ อย่างไม่ขาดสาย นับเป็นทัศนียภาพที่สวยงาม แห่งหนึ่งของสถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้

 

ที่มา : http://www.abroad-tour.com/china/dali_city/muangboran.html

ฮาร์บิน

Posted: กุมภาพันธ์ 23, 2012 in ฮาร์บิน

ฮาร์บิน (จีนตัวย่อ: 哈尔滨, จีนตัวเต็ม: 哈爾濱, 哈爾濱) เป็นเมืองเอกของมณฑลเฮย์หลงเจียง ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่ทางฝั่งใต้ของแม่น้ำซงหัว ฮาร์บินเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโต และยังเป็นศูนย์กลางทางด้านการปกครอง เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และการสื่อสารคมนาคมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน จึงถือได้ว่าเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งของจีนและของเอเชียด้านตะวันออกเฉียง เหนือ

เมืองฮาร์บินเดิมเป็นหมู่บ้านประมงเล็กๆริมฝั่งแม่น้ำซงฮวาเจียงในภาคเหนือ ของจีน สมัยนั้นที่นั่นมีครอบครัวชาวประมงเพียงไม่กี่ครัวเรือนเท่านั้นพวกเขาใช้ ชีวิตอย่างเรียบง่าย ไม่มีการติดต่อกับโลกภายนอกมากนัก ตั้งแต่ ค.ศ. 1898 เป็นต้นมา เนื่องจากมีการสร้างทางรถไฟจากทิศใต้ไปสู่ทิศเหนือสายหนึ่งซึ่งตัดผ่าน หมู่บ้านแห่งนี้ ทำให้บรรยากาศในหมู่บ้านแห่งนี้ขาดความเงียบสงบเฉกเช่นเดิมอีกต่อไป ในเวลาเดียวกัน มีชาวรัสเซียจำนวนมากได้เดินทางไปที่หมู่บ้านแห่งนี้ ชาวรัสเซียนอกจากได้สร้างทางรถไฟไปถึงที่นั่นแล้ว ยังได้สร้างเมืองขึ้นมาเมืองหนึ่งตามบริเวณหมู่บ้านนี้ซึ่งก็คือเมืองฮาร์ บินนั่นเอง จนถึงปัจจุบันนี้ ในเมืองฮาร์บินยังปรากฏสิ่งก่อสร้างสถาปัตยกรรมรัสเซียให้เห็นเป็นจำนวนมาก แม้เวลาได้ผ่านไปยาวนานนับร้อยปีแล้วก็ตาม แต่สิ่งก่อสร้างดังกล่าวยังคงทรงความหมายที่สะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการพัฒนา สมัยเริ่มแรกของเมืองฮาร์บินได้เป็นอย่างดี

คำว่า ฮาร์บิน เป็นคำในภาษาแมนจู มีความหมายว่า ‘สถานที่ตากแหจับปลา’

ฮาร์บินมีสมญานามว่า ‘ไข่มุกบนคอหงส์’ เนื่องจากสัญฐานของมณฑลเหยหลงเจียงมีลักษณะคล้ายหงส์ ส่วนสมญานามอื่นๆ คือ ‘มอสโกแห่งตะวันออก’ หรือ ‘ปารีสแห่ง ตะวันออก’ เนื่องจากลักษณะสถาปัตยกรรมของอาคารบ้านเรือนในเมืองคล้ายกับในมอสโกหรือ ปารีส และฮาร์บินยังเป็นที่รู้จักในชื่อ ‘เมืองแห่งน้ำแข็ง’ เพราะมีฤดูหนาวที่ยาวนานและหนาวเย็นมาก

 

ที่มา : http://www.abroad-tour.com/china/harbin/

 

ภูหิมะซีหลิงเป็นสถานที่ตากอากาศ ทิวทัศน์งามเด่นแห่งหนึ่งของประเทศจีน อยู่ที่เมืองต้าอี้ มณฑลเสฉวน ห่างจากนครเฉิงตู เมืองหลวงของมณฑล 95 กิโลเมตร ครอบคลุมเนื้อที่ 483 ตารางกิโลเมตร ยอดเขาต้าสวยถัง สูง 5,364 เมตร มีหิมะปกตลอดปี เป็นยอดภูที่สูงที่สุดในเฉิงตู

ตั้งอยู่บนที่ราบยอดเขาบนระดับความสูงประมาณ 2,200 – 2,400 เมตรจากระดับน้ำทะเล ครอบคลุมพื้นที่ราว 8 ตารางกิโลเมตร อุณหภูมิในช่วงฤดูหนาวอยู่ระหว่าง ลบ 10 ถึง 10 องศาเซลเซียส บนลานสกีจะมีความหนาของหิมะประมาณ 60 – 100 เซนติเมตร นับเป็นสกีรีสอร์ทที่นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางมาเล่นสกีมากที่สุด สถานที่แห่งนี้พรั่งพร้อมไปด้วยอุปกรณ์การเล่นสกีบนลานน้ำแข็งอย่างครบครัน ได้แก่ แผ่นเลื่อนหิมะ สกีหิมะ ม้าลากเลื่อนหิมะ บอลลูน สโนโมบิล เครื่องเล่นสไลด์ รวมทั้งกิจกรรมบนลานน้ำแข็งอีกมากมาย เนื่องจากอยู่ในความสูงระดับเดียวกันภูเขาแอลป์ คุณภาพหิมะและฤดูหิมะเช่นเดียวกับภูเขาแอลป์ ภูเขาซีหลิงจึงได้ชื่อว่า ภูแอลป์แห่งบูรพา

ที่มา : http://www.abroad-tour.com/china/chengdu/xiling_snow_mountain.html

 

   ถ้ำหลงเหมิน (หลงเหมินสือคู) ถ้ำหินประตูมังกร เป็นกลุ่มถ้ำบนหน้าผา ห่างออกไปทางใต้ 12 กิโลเมตรจากเมืองลั่วหยาง ในมณฑลเหอหนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ทั้งด้านตะวันออกและด้านตะวันตกเป็นภูเขา มีแม่น้ำ

      อี๋สุ่ยไหลผ่านตรงกลาง มองดูเสมือนประตูที่มีมังกรโลดแล่นขนาบอยู่ จึงได้ชื่อว่า หลงเหมินคือ ประตูมังกร อยู่ระหว่างภูเขาเซียงซานทางทิศตะวันออก และภูเขาหลงเหมินทางทิศตะวันตก หันหน้าออกสู่ริมฝั่งแม่น้ำอี้ พื้นที่บริเวณกลุ่มถ้ำมีความยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ประมาณ 1 กิโลเมตร จัดว่าเป็น 1 ใน 3 แหล่งปฏิมากรรมโบราณที่ประกอบด้วย ถ้ำผาม่อเกา ถ้ำผาหลงเหมิน และถ้ำผาหยุนกัง ที่มีชื่อเสียงที่สุดในจีน สถานที่นี้เป็นช่องทางสำคัญทางการคมนาคมที่มีภูเขาสีเขียว และน้ำใสอีกทั้งอากาศก็ดี จึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงโด่งดังของนักเขียนและปัญญาชนจีน ในสมัยต่างๆ นอกจากนี้ หินในสถานที่นี้ก็มีคุณภาพดีเหมาะสำหรับการแกะสลัก ฉะนั้นคนจีนในสมัยโบราณจึงเลือกสถานที่นี้ขุดเจาะถ้ำหิน

ถ้ำหินหลงเหมิน มีอายุราว 1,500 ปี เริ่มก่อสร้างในรัชสมัยเว่ยเหนือ ค.ศ. 494 ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้าง บูรณะ และต่อเติมยาวนานถึง 400 กว่าปีจนถึงยุคราชวงค์ถังและซ่ง มีความยาวตั้งแต่เหนือจรดใต้ประมาณ 1 กิโลเมตร ปัจจุบันยังคงหลงเหลือถ้ำผาแกะสลักอยู่จำนวน2,100 กว่าคูหา โพรงแท่นบูชา 2,345 ช่อง ศิลาจารึกสลักอักษรจีนและหมายเหตุบันทึกต่างๆ อีก 3,600 กว่าหลัก รวมถึงเจดีย์พุทธ 50 กว่าแห่ง พระพุทธรูปสลักมากกว่า 100,000 องค์ องค์ใหญ่สูงสุด 17 เมตร องค์เล็กสุดเพียงแค่ 2 ซ.ม.

ถ้ำผาหลงเหมินได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 24 เมื่อปี พ.ศ. 2543 เป็นถ้ำหิน 1 ใน 3 ถ้ำใหญ่ ที่มีการแกะสลักของประเทศจีน

ที่มา : http://www.abroad-tour.com/china/luoyang/longmen_shiku.html

จัตุรัสเทียนอันเหมิน ตั้งอยู่ในกรุงปักกิ่งประเทศจีน มีพื้นที่ทั้งหมด 440,000 ตารางเมตร ความหมายของเทียนอันเหมิน คำว่า ‘เทียน’ แปลว่า ฟ้า ‘อัน’ แปลว่า ผาสุก ‘เหมิน’ แปลว่า ประตู

      จัตุรัสเทียนอันเหมินมีความสำคัญในวัฒนธรรม ที่ยิ่งใหญ่เป็นสัญญลักขณ์เพราะว่าจัตุรัสเทียนอันเหมินคือที่ตั้งของ เหตุการณ์สำคัญมากมายในประวัติศาสตร์จีน จัตุรัสเทียนอันเหมินเป็นจัตุรัสที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

       ประตูเทียนอัน หรือเทียนอันเหมิน เดิมทีเป็นประตูหน้าของพระราชวังสร้างเมื่อปี ค.ศ. 1417 มีชื่อเดิมว่า “เฉิงเทียนเหมิน” หลังซ่อมแซมใหม่ในสมัยจักรพรรดิซุ่นจื้อแห่งราชวงศ์ชิง ในปี ค.ศ. 1651 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นเทียนอานเหมิน จากประตูนี้ เราสามารถเดินทะลุเข้าวังโบราณได้ ลักษณะของประตูวังเก่าแห่งนี้ เป็นกำแพงใหญ่ ชั้นบนสร้างเป็นเก๋งหลังคาสีเหลือง มีเสากลมสีแดง 10 ต้น เพื่อให้เกิดเป็นช่วงระหว่างเสา 9 ช่อง ตามตัวเลขทรงโปรดของจักรพรรดิ ชั้นล่างเป็นช่องประตูทรงเกือกม้า 5 ช่อง มีภาพเหมือนสีน้ำมันขนาดใหญ่ของประธานเหมา เจ๋อ ตุง ติดตั้งเหนือประตูกลางสองข้างของภาพนี้ มีคำขวัญเขียนว่า “ประชาชนจีนจงเจริญ” และ “ประชากรโลกจงเจริญ” เป็นคำพูดของ ท่านเหมา เมื่อครั้งกล่าวคำปราศรัยบนพลับพลาเทียนอันเหมิน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคมค.ศ. 1949 ซึ่งเป็นวันสถาปนาประเทศจีนใหม่หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า “สาธารณรัฐประชาชนจีน” และได้ถือเอาวันที่ 1 ตุลาคม เป็นวันชาติตลอดมาจวบจนปัจจุบันบริเวณหน้าเทียนอันเหมิน มีสะพานหินที่แกะสลักลวดลายสวยงามเรียงขนานกัน 5 สะพานด้วยกัน มีสิงโตหินขนานใหญ่ ยืนเป็นยามรักษาประตูอีก 1 คู่ สำหรับสิงโตคู่ที่วางประดับหน้าตำหนักและอาคารบ้านเรือนทั่วไป จะมีตำแหน่งการจัดวางที่ตายตัว โดยตัวผู้จะถูกวางทางซ้าย ตัวเมียอยู่ทางด้านขวาเสมอ

         จัตุรัสเทียนอันเหมินล้อมรอบด้วยสถาปัตยกรรมที่มีความสำคัญ ได้แก่ หอประตูเทียนอันเหมินที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือสุดของจัตุรัส ธงแดงดาว 5 ดวงผืนใหญ่โบกสะบัดอยู่เหนือเสาธงกลางจัตุรัส อนุสาวรีย์วีรชนใจกลางจัตุรัส มหาศาลาประชาคมด้านทิศตะวันตกของจัตุรัส ตลอดจน พิพิธภัณฑ์การปฏิวัติแห่งชาติและพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ชาติจีนทางฝั่งตะวันออก นอกจากนี้ทางด้านทิศใต้ยังมี หอรำลึกท่านประธานเหมาและหอประตูเจิ้งหยางเหมิน หรือเฉียนเหมิน

         ปัจจุบัน มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวจีนและชาวต่างชาติมากกว่าพันๆคนมาเยี่ยมชมจัตุรัส เทียนอันเหมินและอาคารสถาปัตยกรรมบริเวณจัตุรัสแห่งนี้ทุกวัน โดยเฉพาะการชมพิธีอัญเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสาและลงจากยอดเสาของกองทหารใน เวลาเช้าและเย็น

ที่มา :http://www.abroad-tour.com/china/beijing/tiananmen.html

 

กำแพงเมืองจีน

Posted: กุมภาพันธ์ 23, 2012 in กำแพงเมืองจีน

คนจีนก๊กต่าง ๆ ได้สร้างกำแพงเมืองจีนไว้เมื่อสองสามพันปีก่อน โดยสร้างกำแพงล้อมอาณาจักรของตนไว้ เมื่อพระเจ้าจิ๋นซีฮ่องเต้รวมเมืองจีนเข้าเป็นเอกภาพเมื่อ พ.ศ. ๓๒๒ ก็เชื่อมต่อกำแพงที่ก๊กต่าง ๆ สร้างไว้เข้าด้วยกัน และสร้างต่อเติมขึ้นอีก

กำแพงเมืองจีนถือว่าเป็นโครงการก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เกิดด้วยฝีมือมนุษย์ มีการเกณฑ์แรงงานเกือบล้านคน และยังมีแรงงานจากพวกนักโทษผู้ซึ่งถูกโกนหัว และมีตรวนเหล็กคล้องคอ คนเหล่านี้ต้องทำงานในถิ่นทุรกันดารท่ามกลางอุณหภูมิเลวร้าย คือ ๓๕ องศาเซลเซียสในฤดูร้อน และ -๒๑ องศาเซลเซียสในฤดูหนาว ต้องอด ๆ อยาก ๆ เพราะเสบียงที่ส่งมามักถูกขโมยกินหรือถูกยักยอกนำไปขาย คนงานนับพันจึงต้องล้มตาย ร่างถูกฝังอยู่ใต้กำแพง กำแพงเมืองจีนจึงได้รับการขนานนามว่าเป็น “หลุมฝังศพที่ยาวที่สุดในโลก” ด้วย

เหตุผลที่ว่า เหตุใดจึงมีการสร้างกำแพงอันยิ่งใหญ่นี้ขึ้นนั้นไม่มีผู้ใดทราบแน่นอน ที่มาเริ่มแรกเข้าใจว่าสร้างขึ้นเพื่อเป็นปราการป้องกันการบุกรุกของชนเผ่ามองโกเลียทางภาคเหนือแต่มีผู้ให้เหตุผลว่า ความจริงกำแพงสูงและยาวขนาดนี้ ไม่อาจป้องกันกองทัพใด ๆ ของผู้คิดจะบุกรุกจีนได้ เพียงทำลายส่วนหนึ่งของกำแพงลง ก็อาจยกทัพผ่านได้ ซึ่งก็เคยปรากฏอยู่เสมอในประวัติศาสตร์จีน กำแพงเป็นเพียงเครื่องสกัดกั้นหรือก่อให้ศัตรูยุ่งยากในด่านแรกเท่านั้น เหตุผลที่น่าฟังอีกอย่างหนึ่งคือ กำแพงนี้ได้ปิดกั้นทางน้ำไม่ให้ไหลออกไปภายนอก ชาวจีนทำไว้เพื่อให้ชนเผ่ามองโกเลียต้องลำบากในการปีนป่ายขึ้นมาหาน้ำเป็นสำคัญ แต่บางฝ่ายก็ให้เหตุผลว่า กษัตริย์จีนทรงสร้างกำแพงขึ้นเพื่อเป็นเครื่องประดับพระเกียรติ ผู้ยิ่งใหญ่ของจีนสนใจเฉพาะกำแพงตอนที่สร้างไว้รอบเมืองเก่าแก่เท่านั้น แต่ที่แน่นอนก็คือ กำแพงนี้ใช้เป็นเส้นกั้นพรมแดนระหว่างชาวตะวันออกกับตะวันตก

ประวัติกำแพงเมืองจีน

       กำแพงเมืองจีนถูกสร้างขึ้นกว่า 2000 ปีมาแล้ว ตั้งแต่สมัยของจิ๋นซีฮ่องเต้ จักรพรรดิ์องค์แรกในประวัติศาสตร์จีน จุดประสงค์ก็เพื่อป้องกันการรุกรานจากชนเผ่าทางตอนเหนือ
โดยมีการก่อสร้างเพิ่มเติมโดยกษัตริย์องค์ต่อมาอีกหลายพระองค์ จนสำเร็จในที่สุด กำแพงเมืองจีนถือเป็นงานก่อสร้างที่มหัศจรรย์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกเท่าที่เคยมีมา

มีข้อเท็จจริงบางประการเกี่ยวกับกำแพงเมืองจีนดังนี้

1. เราไม่สามารถมองเห็นกำแพงเมืองจีนจากดวงจันทร์ ไม่มีสิ่งก่อสร้างที่สร้างโดยมนุษย์ แม้แต่อย่างเดียวที่สามารถมองเห็นจากดวงจันทร์ ในระดับ low earth orbit เรา
สามารถมองเห็นกำแพงเมืองจีนโดยใช้ radar การมองเห็นกำแพงเมืองจีนเป็นไปได้ยากเนื่องจาก สีของกำแพงเมืองจีนจะกลืนไปกับสีของธรรมชาติ ก็คือสีของดิน หิน

2. กำแพงเมืองจีนไม่ใช่กำแพงยาวตลอด ความจริงแล้วกำแพงเมืองจีน ถูกสร้างขึ้นในหลายยุคหลายสมัยกินเวลานับพันปี โดยเป็นการเชื่อมต่อกำแพงแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน จน
เป็นแนวทอดยาวหลายพันกิโลเมตร

3. กำแพงเมืองจีนเป็นเสมือนสุสานของผู้ก่อสร้าง มีการบันทึกไว้ว่า นักโทษจากสงครามและทาสกว่า 1 ล้านคนถูกใช้เป็นแรงงงานเพื่อก่อสร้างกำแพงเมืองจีน ซึ่งจำนวนมาก
เสียชีวิตลงเนื่องจากความเหน็ดเหนื่อย และความหิวโหย ซึ่งศพผู้เสียชีวิตก็จะถูกฝังอยู่ข้างใต้กำแพงนั่นเอง นานนับศตวรรษแล้ว ที่กำแพงเมืองจีนได้ชื่อว่าเป็นสุสานที่มีความ
ยาวที่สุดในโลก เป็นที่กล่าวขานกันว่าทุกๆ หนึ่งฟุตของกำแพงเมืองจีนก็คือหนึ่งชีวิตของผู้ก่อสร้างกำแพง

4. ความยาวของกำแพงเมืองจีน จนถึงขณะนี้ยังไม่มีใครทราบความยาวที่แท้จริงของกำแพงเมืองจีน ในภาษาจีน จะเรียกกำแพงเมืองจีนว่า “กำแพงยาวหมื่นลี้” (หนึ่งลี้มีความ
ยาวประมาณ 1/3 ไมล์) โดยคร่าวๆ กำแพงเมืองจีนมีความยาวประมาณ 4 พันไมล์ หรือ 6,350 กิโลเมตร ทอดผ่านทุ่งหญ้า ทะเลทราย และเทือกเขาสูง ความสูงของกำแพงคือ 7
เมตร และกว้าง 5 เมตร

5. การก่อสร้างกำแพงเมืองจีน ช่วยป้องกันการรุกรานได้หรือไม่ การเข้าครองอำนาจของมองโกล และแมนจู ทั้งสองครั้งเกิดขึ้นจากความอ่อนแอ ของราชวงศ์ที่ปกครอง
ประเทศจีนในขณะนั้นๆ พวกเขาใช้โอกาสในขณะที่เกิดกบฏภายใน เข้ายึดครองประเทศจีน โดยมีการต่อต้านที่น้อยมาก

6. กำแพงเมืองจีนไม่ได้เป็นแค่กำแพง ทุกๆ 300 ถึง 500 หลา จะมีฐานบัญชาการเพื่อใช้สับเปลี่ยนเวรยามและใช้เป็นจุดสังเกตการณ์ มีหอสังเกตการณ์กว่า 1 หมื่นแห่ง

7. กำแพงเมืองจีนเป็นเส้นทางคมนาคม ในระยะแรก ประโยชน์ของกำแพงเมืองจีนก็คือ มันช่วยให้การคมนาคมและขนส่งในเส้นทางทุรกันดาร เช่นตามเทือกเขาเป็นไปอย่าง
สะดวกยิ่งขึ้น

8. กำแพงเมืองจีนสร้างขึ้นโดยใช้อะไรเป็นส่วนประกอบ ก่อนที่จะมีการใช้อิฐในการก่อสร้าง กำแพงเมืองจีนถูกสร้างขึ้น โดยใช้หิน ดิน และไม้ บางครั้งมีการแพ็คดินไว้ระหว่าง
ไม้แผ่นใหญ่ และมัดไว้ด้วยกันโดยเสื่อทอ บริเวณใกล้กรุงปักกิ่ง กำแพงเมืองจีนถูกสร้างโดยใช้หินอ่อน ในบางสถานที่กำแพงถูกสร้างโดยใช้หินแกรนิต บางแห่งก็ใช้ดินเผา
ทางตะวันตกของจีน กำแพงถูกสร้างโดยใช้โคลน ทำให้ชำรุดได้ง่ายกว่า กำแพงเมืองจีนที่เราเห็นกันทุกวันนี้ ส่วนใหญ่ถูกสร้างในราชวงศ์หมิง โดยใช้วัตถุที่ทนทานกว่าเช่นหิน

9. สภาพของกำแพงเมืองจีนในขณะนี้ รายงานผลการสำรวจของนักอนุรักษ์เมื่อปี 2004 กล่าวว่า ขณะนี้ กำแพงเมืองจีนที่ยาว 6,350 กิโลเมตร เหลือให้เห็นเพียง 1/3 เท่านั้น
และกำลังสั้นลงเรื่อยๆ ปัญหาเกิดขึ้นเนื่องจากการขาดการดูแลและอนุรักษ์ โดยเฉพาะจากชาวไร่ชาวนาซึ่งอาศัยอยู่ใกล้กำแพงเมืองจีน ไม่สนใจประกาศของรัฐบาลที่กำหนด
ให้กำแพงเมืองจีนเป็นสมบัติของชาติ

ที่มา :http://www.abroad-tour.com/china/beijing/the_great_wall_of_china.html

 

             รถไฟลอดอุโมงค์เลเซอร์ เป็นอุโมงค์ลอดแม่น้ำสายแรกในประเทศจีน ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางโดยรถรางได้ เพื่อข้ามไปยังฝั่งตรงข้ามใช้เวลาประมาณ 5 นาที ภายในอุโมงค์ตกแต่งด้วยเเสงเลเซอร์ เป็นรูปต่าง ๆ ตื่นตาตื่นใจ   อุโมงค์เลเซอร์ มีความลึกลงไปจากพื้นแม่น้ำ 9 เมตร ความยาว 646.70 เมตร สร้างเสร็จ เมื่อปี ค.ศ. 2000 รถอุโมงค์นี้สามารถ รับ – ส่งนักท่องเที่ยวได้ ชั่วโมงละ 5,280 คน

ที่มา: http://www.abroad-tour.com/china/shanghai/the_bund_sightseeing_tunnel.html